เมนู

ผู้ฉลาด. กาลที่ภิกษุเหล่านั้นอันพระตถาคตให้ทำการยึดถือจากรูป แล้วให้
ตั้งอยู่ในอรูป เหมือนเวลาที่หมอร่ายมนต์แล้วไล่ยาพิษไว้ข้างบน กาลที่ภิกษุ
เหล่านั้นอันพระตถาคตให้นำการยึดถือจากอรูป แล้วให้ตั้งอยู่ในรูป เปรียบ
เหมือนเวลาที่หนอไม่ให้พิษที่แล่นขึ้นข้างบนจนถึงขอบตา แล้วไล่ลงด้วย
กำลังมนต์อีก แล้วตั้งไว้ในที่ ๆ ถูกอสรพิษกัด พึงทราบกาลที่พระศาสดา
ทรงเริ่มเทศนานี้เพื่อนำการยึดถือออกจากอารมณ์ทั้ง 2 ฝ่าย เปรียบ
ทำลายยาพิษที่หยุดไว้ในที่ถูกอสรพิษกัดด้วยการทายาขนานเยี่ยม.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ พระองค์ตรัส
เหมือนการมรรค. ด้วยบทว่า วิราคา วิมุจฺจติ ตรัสผล. ด้วยบทว่า
วิมุตฺตสฺมึ เป็นต้น ตรัสปัจจเวกขณญาณ.
จบอรรถกถาอัสสุตวตาสูตรที่ 1

2. อัสสุตวตาสูตรที่ 2



ว่าด้วยร่างกายเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง 4



[235] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้
มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ใน
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่ายกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง